ทำความรู้จัก "มะเร็งปอด" จากกรณี "โรเบิร์ต สายควัน" อันตรายแค่ไหน?

ทำความรู้จัก, มะเร็งปอด, โรเบิร์ต สายควัน, โรคมะเร็ง, ผู้ป่วย, เสียชีวิต, สาเหตุ, อาการ, การรักษา

ทำความรู้จักโรคมะเร็งปอด?

ทำความรู้จัก, มะเร็งปอด, โรเบิร์ต สายควัน, โรคมะเร็ง, ผู้ป่วย, เสียชีวิต, สาเหตุ, อาการ, การรักษา

จากกรณีที่ศิลปินตลกชื่อดัง "โรเบิร์ต สายควัน" ที่ตอนนี้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดและได้เข้ารับการรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จึงเป็นประเด็นที่ทำให้ทุกคนตระหนักถึงและให้ความสนใจกันเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับสาเหตุและอาการของโรคนี้ โดยก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกับ "มะเร็งปอด" กันดีกว่าว่าโรคนี้มันอันตรายแค่ไหน?

ปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประชากรทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย จากสถิติขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2561 คาดการณ์ว่ามีจำนวนผู้ป่วยทั่วโลกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งประมาณ 18 ล้านคน และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ 9.6 ล้านคน หรือกล่าวได้ว่า 1 ใน 6 รายของการเสียชีวิตเกิดจากโรคมะเร็ง!

รู้จัก สาเหตุ อาการ การรักษา "มะเร็งปอด" จากกรณี "โรเบิร์ต สายควัน" ?

ทำความรู้จัก, มะเร็งปอด, โรเบิร์ต สายควัน, โรคมะเร็ง, ผู้ป่วย, เสียชีวิต, สาเหตุ, อาการ, การรักษา

มาทำความรู้จัก "มะเร็งปอด" จากกรณี "โรเบิร์ต สายควัน" กันดีกว่าว่ามันอันตรายแค่ไหน? ซึ่งโรคนี้จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่าเป็นโรคที่มีผู้ป่วยจำนวนมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งหากได้รู้ถึงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงก็จะมีโอกาสป้องกันและรักษาได้

สำหรับในประเทศไทย "มะเร็งปอด" เป็นมะเร็งที่พบสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และเป็นอันดับต้นๆ รองจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในเพศหญิง นอกจากนี้มะเร็งปอดยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากมะเร็งมากที่สุดทั้งในเพศชายและเพศหญิง ซึ่งอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยก็แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับระยะของโรค สุขภาพโดยรวมและปัจจัยอื่นๆ โดยผู้ป่วยส่วนมากที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดจะเสียชีวิตภายในปีแรก เนื่องจากผู้ป่วยส่วนมากมักได้รับการวินิจฉัยเมื่ออยู่ในระยะท้ายเพราะอาการของโรคคล้ายกับโรคอื่นๆ ทั้งนี้อัตราการรอดชีวิตภายในหนึ่งปีของผู้ป่วยมะเร็งปอดในประเทศไทยโดยรวมน้อยกว่า 20%

"มะเร็งปอด" เป็นโรคซึ่งมีการเจริญของเซลล์ในเนื้อเยื่อปอดอย่างควบคุมไม่ได้ การเจริญนี้นำไปสู่การแพร่กระจาย มีการรุกรานเข้าไปในเนื้อเยื่อข้างเคียงและแทรกซึมเข้าไปในอวัยวะนอกปอด มะเร็งปอดส่วนใหญ่เป็นมะเร็งชนิดเยื่อบุ คือเจริญมาจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว ซึ่งมักปรากฏอาการเมื่อเนื้อร้ายลุกลามเป็นวงกว้างในระยะที่ 3-4

มะเร็งปอดมีอยู่ 2 ชนิดใหญ่ คือ มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small cell lung cancer) พบประมาณ 15% และมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (Non-small cell lung cancer) พบได้ 85% ของมะเร็งปอดทั้งหมด โดยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กมีโอกาสตรวจพบโรคในระยะต้นได้มากกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอด

ทำความรู้จัก, มะเร็งปอด, โรเบิร์ต สายควัน, โรคมะเร็ง, ผู้ป่วย, เสียชีวิต, สาเหตุ, อาการ, การรักษา

1. บุหรี่ เป็นสาเหตุของมะเร็งปอดถึงร้อยละ 80-90 การสูบบุหรี่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์หลอดลม ทำให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้

2. สารพิษ การสัมผัสสารแอสเบสตอสหรือแร่ใยหิน ซึ่งใช้ในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ ฉนวนกับความร้อน การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร ผ้าเบรค คลัช อุตสาหกรรมสิ่งทอและเหมืองแร่

3. รังสี การได้รับการฉายรังสีบริเวณปอด และรังสีเรดอน ซึ่งเป็นก๊าซกัมมันตรังสี ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เกิดจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนียมในใยหินกระจายอยู่ในอากาศและน้ำใต้ดินในที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท ซึ่งหากได้รับในปริมาณมากก็อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้

4. โรคปอด ผู้ที่เคยมีรอยแผลเป็นของโรคที่ปอด เช่น เคยเป็นวัณโรคปอด หรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพอง จะมีโอกาสเกิดมะเร็งปอดสูงกว่าบุคคลทั่วไป

5. ปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุที่มากขึ้น การใช้สารเสพติดบางประเภท เช่น กัญชาและโคเคน ภาวะขาดวิตามินอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งปอดด้วย ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างกรรมพันธุ์กับการเกิดมะเร็งปอดยังไม่มีความชัดเจนนัก

สัญญาณเตือนและอาการของมะเร็งปอด

ทำความรู้จัก, มะเร็งปอด, โรเบิร์ต สายควัน, โรคมะเร็ง, ผู้ป่วย, เสียชีวิต, สาเหตุ, อาการ, การรักษา

1. อาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่

- อาการไอเรื้อรัง อาจมีหรือไม่มีเสมหะก็ได้
- อาการไอเป็นเลือด
- หอบเหนื่อย หายใจลำบากเนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้น ทำให้เนื้อที่ปอดสำหรับหายใจเหลือน้อยลง หรือก้อนมะเร็งนั้นกดเบียดหลอดลม
- เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
- ปอดอักเสบ มีไข้

แต่อาการเหล่านี้ อาจเกิดจากโรคอื่นๆ ของปอดได้เช่นกัน จึงไม่ใช่อาการของมะเร็งปอดเสมอไป

2. อาการของระบบอื่นๆ ได้แก่

- เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- บวมที่หน้า แขน คอ และทรวงอกส่วนบนเนื่องจากมีเลือดดำคั่ง
- เสียงแหบเพราะมะเร็งลุกลามไปยังเส้นประสาทบริเวณกล่องเสียง
- ปวดกระดูก
- กลืนลำบากเนื่องจากก้อนมะเร็งกดเบียดหลอดอาหาร
- อัมพาตเนื่องจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังสมองหรือไขสันหลัง
- มีตุ่มหรือก้อนขึ้นตามผิวหนัง

ซึ่งอาการเหล่านี้ก็ไม่จำเพาะต่อโรคมะเร็งปอดเช่นกัน ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้นควรได้รับการตรวจจากแพทย์

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

ทำความรู้จัก, มะเร็งปอด, โรเบิร์ต สายควัน, โรคมะเร็ง, ผู้ป่วย, เสียชีวิต, สาเหตุ, อาการ, การรักษา

โรคมะเร็งปอดอาจตรวจพบได้จากการถ่ายภาพรังสีทรวงอกและการทำซีทีสแกน การยืนยันการวินิจฉัยทำโดยการตัดชิ้นเนื้อปอดออกมาตรวจ การตัดชิ้นเนื้อปอดส่วนใหญ่ทำโดยส่องกล้องหลอดลมเพื่อเก็บชิ้นเนื้อหรือการเจาะชิ้นเนื้อโดยใช้ผลตรวจซีทีช่วยนำทาง

การตัดชิ้นเนื้อเพื่อวิเคราะห์ (biopsy)

- การใช้เข็มขนาดเล็กตัดชิ้นเนื้อ (fine-needle aspiration)
- การส่องกล้องตรวจภายในหลอดลม (bronchoscopy)
- การใช้เข็มเจาะช่องเยื่อหุ้มปอดแทงผ่านผนังทรวงอก (thoracentesis)
- การตรวจช่องกลางทรวงอกโดยการส่องกล้อง (mediastinoscopy)
- การตรวจช่องทรวงอกโดยการส่องกล้อง (thorocoscopy)

การตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี

- การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์หาตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้อที่ผิดปกติในบริเวณปอดได้
- การตรวจด้วยเครื่อง PET scan (positron emission tomography scan) เป็นการฉีดโมเลกุลของสารกัมมันตภาพรังสีที่รวมกับน้ำตาลเข้าทางเส้นเลือด เซลล์มะเร็งปอดจะดูดซึมเอาน้ำตาลชนิดนี้ไว้อย่างรวดเร็วและมากกว่าเซลล์ปกติ ทำให้เกิดความแตกต่างของการเรืองแสงเฉพาะเซลล์มะเร็ง

การรักษาและพยากรณ์โรค

ทำความรู้จัก, มะเร็งปอด, โรเบิร์ต สายควัน, โรคมะเร็ง, ผู้ป่วย, เสียชีวิต, สาเหตุ, อาการ, การรักษา

การพยากรณ์โรคขึ้นกับชนิดของเนื้อเยื่อมะเร็ง ระยะของโรค ขนาดของก้อนมะเร็งและระดับความสามารถของผู้ป่วย

การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer)

- การรักษาด้วยเคมีบำบัดเป็นการรักษาที่จำเป็นในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เนื่องจากการแพร่กระจายของโรคไปยังอวัยวะอื่นๆ รวดเร็วมาก
- ในผู้ป่วยที่โรคยังไม่แพร่กระจาย การรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่กับการฉายแสงจะให้ผลการรักษาที่ดีกว่าการรักษาด้วยเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว

การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (non-small cell lung cancer)

- การรักษาจะขึ้นกับชนิดของเนื้อเยื่อมะเร็ง ระยะของโรค และระดับความสามารถของผู้ป่วย
- ในผู้ป่วยที่ระยะการดำเนินไปของโรคยังไม่มากและไม่มีการแพร่กระจายของโรค การรักษามักทำโดยการผ่าตัด การฉายแสงหรือเคมีบำบัด
- ในผู้ป่วยที่มะเร็งปอดอยู่ในระยะลุกลาม มักจะได้รับการตรวจการกลายพันธุ์ของยีนร่วมด้วย โดยผู้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์ของยีนควรได้รับการรักษาด้วยการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง (targeted therapy) และผู้ป่วยที่ไม่พบการกลายพันธุ์ของยีนควรได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด

บทความที่เกี่ยวข้อง
  • รู้หรือไม่คนเป็นหัวหน้าต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง

    รู้หรือไม่? คนเป็นหัวหน้าต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง?

    By AI Fern | 30/08/2020

    เคยรู้กันหรือไม่ว่าในแต่ละวันของคนเป็นหัวหน้านั้นเขามีหน้าที่อะไร? และต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง? ซึ่งองค์กรก็คงคาดหวังให้หัวหน้ามีหน้าที่ในการปกครอง ดูแล แนะนำ สั่งงาน สอนงาน ติดตามงาน และสร้างขวัญกำลังใจแก่ลูกน้อง

  • แนะนำวิธีการเลือกน้ำดื่ม เลือกอย่างไร ยี่ห้อไหนดี?

    แนะนำวิธีการเลือกน้ำดื่ม เลือกอย่างไร ยี่ห้อไหนดี?

    By AI Peem | 02/09/2020

    น้ำ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่ายกายที่ขาดไม่ได้ ในแต่ละวันเราควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 8 แก้ว แต่เราจะเลือกน้ำดื่มอย่างไรดีให้เหมาะสมกับเรา วันนี้เราก็มีวิธีดีๆ ในการเลือกน้ำดื่มมาฝากทุกคนกันครับ

  • รู้หรือไม่ว่าเป้าหมายสูงสุดในชีวิตของคนทำงานคืออะไร

    รู้หรือไม่ว่า...เป้าหมายสูงสุดในชีวิตของคนทำงานคืออะไร?

    By AI Fern | 01/09/2020

    รู้หรือไม่ว่า...เป้าหมายสูงสุดในชีวิตของคนทำงานคืออะไร? คุณเคยสงสัยหรือถามตัวเองกันบ้างไหมว่า...เป้าหมายในการทำงานของคุณคืออะไร? เป้าหมายในชีวิตของคุณคืออะไรกันแน่? แล้วคุณทำงานหนักไปเพื่ออะไร?

Jobs aSearcher